วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ของดีของฝากจากหนองชิ่ม วันนี้พริกแกง และ ขนมกวน ป้าช่วง
















           ของดีของเด็จวีนนี้จะขอพาชม ขนมกวน และ น้ำพริกแกงป้าช่วง  ของดีประจำตำบลของเราที่รสชาติติดอกติดใจไปทั่วเมือง ในรสชาติความอร่อยเหมาะแก่การซื้อไปเป็นของฝากแก่ญาติสนิทมิตรสหาย  กันนะพี่น้อง   วันนี้เราตามมาถึงบ้านป้าช่วงเลย  ดูวิธีการผลิดแต่ละขั้นตอน  ที่สำคัญไม่ธรรมดา  เห็นป้าแกอายุขนาดนี้  ขอบอก ยังแข็งแรงมากๆๆๆๆ  ........ผู้ที่สนใจติดต่อหาซื้อได้ที่ป้าช่วงนะคร๊าบ...



วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

งานเทศการแห่เทียนเข้าพรรษาประจำปี 2559ตำบลหนองชิ่ม

และแล้วก็มาถึงวันที่ทุกท่านร่วมแรงร่วมใจกันอีกวันหนึ่งที่เราจัดเป็นประจำทุกๆปี  ก่อนถึงวันเข้าพรรษาคือการแห่เทียนพรรษาเพื่อถวายวัดในตำบลหนองชิ่มที่มีถึง 4 วัดด้วยกัน  ได้แก่
โดยจะทำการแห่งเทียนไปถวายยังวัดหนองชิ่มเป็นลำดับแรกและเรียงตามมาเป็นลำดับจนถึงวัดสามัคคีธรรม  การแห่เทียนครั้งนี้จะไม่สำเร็จได้เลยหากขาดความร่วมมือจากส่วนราชการในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น สภ.เกาะเปริด  โรงเรียนวัดหนองชิ่ม  โรงเรียนบ้านอีมุย  รพ.สต.ตำบลหนองชิ่ม  รพ.สต.บ้านอีมุยและกลุ่มองค์กรต่างๆ  เช่น  กลุ่มชาวนาตำบลหนองชิ่ม  กลุ่มสตรีตำบลหนองชิ่มและกลุ่มผู้สูงอายุจากโรงเรียผู้สูงอายุตำบลหนองชิ่ม  ต้องขออนุโมธนาบุญกุศลที่ได้ร่วมทำกันในครั้งนี้จงประสบแด่ท่านทั้งหลายมีความสุขความเจริญกันถ้วนหน้าเถิด...สาธุ  













วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รณรงค์ป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2559

ช่วงนี้ฝนตกบ่อยรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ และตามบ้านที่มีแหล่งน้ำขังหรือมีแหล่งที่ให้ยุงสามารถเพาะพันธุ์ช่วยกักำจัดเพื่อลดการแพร่ของโรคไข้เลือดออกกันนะครับ อบต.หนองชิ่มร่วมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกล้ำยุงลายในตำบลโดยการพ่นหมอกควันเพื่อลดปริมาณยุงลายในพื้นที่ตำบลหนองชิ่ม







ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา
ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘
"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา











วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อัพเดทแปลงนาข้าวเกษตรอินทรีย์ของอบต.หนองชิ่ม










         หลังจากต้นข้าวได้เริ่มหว่านลงไปในแปลงผืนนาที่ได้ทำการไถพรวนดินเอาไว้ สามสัปดาห์ต่อมาก้ได้เจริญเติบโตเป็นต้นข้าวเขียวขจีไปทั่วท้องทุ่ง   ทำห้ผืนดินกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนเดิม  วิถีชีวิตก็ได้เริ่มต้นขึ้น  วิถีแห่งชาวนาไทย   กระดูกสันหลังของชาติก็ได้เริ่มหน้าที่แรกคือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อบำรุงต้นข้าวในนาข้าวเพื่อให้เจริญเติมโตสมบูรณ์.....